1. การผสมแป้ง
ส่วนที่ 1 ส่วนผสมของแห้ง ได้แก่ แป้ง ยีสต์ สารเสริมคุณภาพ นมผง ร่อนผสมเข้าด้วยกัน
ส่วนที่ 2 ส่วนผสมของเปียก ได้แก่ น้ำเย็น น้ำตาลทราย ไข่ไก่ เกลือป่น และ นมสด หรือนมข้นจืด คนให้เข้ากันจนละลาย
ส่วนที่ 3 ส่วนผสมไขมัน ได้แก่ เนยสด เนยขาว มาการีน หรือ น้ำมันพืช
การผสมแป้งวิธีนี้จะช่วยให้ส่วนผสมเข้ากันได้ดี และช่วยให้กลูเต็นในแป้งถูกผสมจนถึงจุดที่ไใช้ได้ โดยสังเกตได้จากการรวมตัวของก้อนแป้งไม่เหนียวติดมือ และเครื่องผสมมีความนุ่มเนียนและสามารถดึงเป็นผ่นบาง ๆ ได้โดยไม่ขาด แต่ถ้าผสมแป้งหรือนวดแป้งน้อยเกินไป จะทำให้แป้งมีความยืดหยุ่นน้อย ขนาดของขนมจะลดลง หรือจะมีเนื้อสัมผัสหยาบ
2. การหมักแป้งหลังจากการผสม
แป้งหลังจากการผสมควรมีการพักแป้งก่อนสักระยะหนึ่งเพื่อให้แป้งคลายตัว ในการหมักนั้นโดยทั่วไปแล้วจะหมักโดยการคลึงแป้งเป็นก้อนกลม และหมักในอ่างผสม หรือคลึงเป็นก้อนกลมแล้วพักบนโต๊ะ โดยใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำบิดหมาด ๆ คลุมก้อนแป้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหน้าของก้อนแป้งแห้ง
3. การไล่อากาศในก้อนแป้ง
หลังจากแป้งถูกหมักจนได้ที่แล้วจะไล่อากาศที่มีมากเกินออกไป เพื่อให้ขนมปังมีเนื้อเนียน วิธีคือใช้มือกดเบา ๆ ที่ก้อนแป้ง หรือใช้เครื่องรีดเพื่อไล่อากาศ
4. การเตรียมก้อนแป้งใส่ไส้หรือพิมพ์
หลังจากไล่อากาศในก้อนแป้งแล้ว ตัดก้อนแป้งตามขนาดที่ต้องการ หลังจากนั้นใช้มือหรือเครื่องคลึงให้เป็นก้อนกลมจนผิวหน้าเรียบเนียน จากนั้นจะขึ้นรูปพักลงในพิมพ์ หรือพักให้ขึ้นเป็น 2 เท่า และนำมาใส่ไส้ตามต้องการ
5. การพักแป้งในพิมพ์
ระยะเวลาในการพักแป้งขึ้นอยู่กับขนาดก้อนแป้ง และอุณหภูมิที่ใช้ในการหมัก โดยทั่วไปแล้วจะใช้อุณหภูมิที่ประมาณ 32-40 องศาเซลเซียส ซึ่งในระหว่างการหมักนั้นต้องใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำหมาด ๆ คลุมแป้งเพื่อป้องกันผิวหน้าของก้อนแป้งแห้งกระด้าง ในปัจจุบันถ้าเป็นระบบอุตสาหกรรมหรือร้านที่ขายดีก็จะใช้ตู้หมักแป้ง โดยตู้หมักแป้งสามารถปรับระดับอุณหภูมิที่ใช้ในการหมักได้ จึงช่วยให้ได้ก้อนแป้งที่พองตัวอย่างรวดเร็ว
6. การอบและการตกแต่งหลังการอบ
โดยทั่วไปอุณหภูมิที่ใช้ในการอบอยู่ที่ 350-400 องศาฟาเรนไฮต์ ส่วนระยะเวลาขึ้นอยู่กับขนาดก้อนแป้ง ก่อนอบบางสูตรอาจจะเพิ่มสีสันแก่ขนมปัง โดยจะมีการทาหน้าขนมปังด้วยไข่ไก่ นมสด เป็นต้น และเมื่ออบสุกแล้วถ้าต้องการให้ขนมปังเป็นมันเงา จะทาหน้าขนมปังด้วยเนยสดทับอีกที ขนมก็จะดูมันเงา จึงนำออกจากพิมพ์หรือถาดอบ บางสูตรจะมีการตกแต่งหลังการอบเพื่อให้ได้รสชาติที่ดีและสะดุดตาน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น การตกแต่งนั้นมีหลายวิธี เช่น การโรยหน้าขนมด้วยน้ำตาลไอซิ่ง หรือ การตกแต่งด้วยน้ำสลัดครีม จึงพักบตะแกรงจนเย็นสนิทเื่พื่อป้องกันการเกิดราได้ง่าย จากนั้นจึงบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่เตรียนมไว้ หลังจากการบรรจุแล้วควรเก็บขนมปังไว้ในห้องที่ไม่แห้งจนเกินไป และมีอุณหภูมิที่เย็นพอเหมาะ
การหมักแป้งก่อนขึ้นรูปมี 3 วิธี คือ 1. การผสมแป้ง 2 ขั้นตอน คือให้นำแป้ง 30% กับยิสต์และน้ำ 25% ของน้ำหนักแป้งผสมให้เข้ากัน แล้วหมักให้ขึ้นฟูเป็น 2 เท่าตัวจึงนำไปใส่เครื่องผสมกับส่วนผสมที่เนลือจนส่วนผสมเนียนดี จึงนำออกมาแบ่งน้ำหนักแล้วขึ้นรูปได้เลย 2. ผสมส่วนผสม ตีรวมกันทั้งหมดจนเนียน จึงนำออกมาพักให้โตขึ้นเป็น 2 เท่าตัว จึงนำมาแบ่งน้ำหนักแล้วปั้นขึ้นรูปได้เลย 3. วิธีที่ 3 (จะมีส่วนผสมของหัวเชื้ออยู่ในสูตรอยู่แล้ว) สามารถเลือกใช้ส่วนที่งายที่สุดและออกมาดี (ถ้าไม่มีสูตรแป้งก็ให้ใช้วิธีที่ 1 และ 2 ได้เพื่อความสวยงามของผิวขนมปัง) |
การผสมแป้งถูกวิธีและส่วนประกอบ 1. การเลือกใช้ยีสต์สำหรับขนมปังจืดในการทำขนมปังฝรั่งเศส 2. น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำเย็นจัด หรือถ้าผสมในจำนวนมาก ๆ ให้เพิ่มน้ำแข็ง 3. ถาดที่ใช้ควรทาเนยขาวแล้วโรยด้วยแป้งบาง ๆ 4. ก่อนอบใช้น้ำฉีดให้ผิวขนมปังชื้น ในกรณีใช้หัวแก็ส (เตาไฟฟ้าแบบมีสตรีมน้ำ) 5. การผสมแป้งที่ไม่มีแป้งเชื้อควรหมักแป้งก่อนทุกครั้ง |
วิธีผสมแป้ง
1. วิธีผสมแบบขั้นตอนเดียว (Straight Dough Method) 1.1 ตวงส่วนผสมที่ใช้ทั้งหมดในสูตร 1.2 ละลายน้ำตาล เกลือ ไข่ ในน้ำ 1.3 เทแป้ง ยีสต์ นมผง ลงในอ่างผสม ผสมใ้ห้เข้ากัน 1.4 เติมสารละลายของน้ำลงไป ผสมด้วยความเร็วต่ำของเครืองพอเข้ากัน 1.5 ใส่เนยลงไปผสมกันจนกระทั่งได้แป้งที่มีลักษณะเนียน 1.6 นำไปพักก่อนที่จะขึ้นรูปต่อไป |
2. การผสมแบบสองขั้นตอน (Sponge & Dough Method) 2.1 ขั้นตอนแรก (Sponge)นำแป้ง ยีสต์ และน้ำที่มีส่วนผสมของ สปองจ์โดยผสมให้เข้ากันแต่ไม่กับต้องแป้งเนียน นำไปหมัก 2-3 ชั่วโมง 2.2 ขั้นตอนที่ 2 (Dough) เมื่อหมัก Sponge ได้ที่แล้ว ให้เติมส่วนผสมที่เหลือทั้งหมดในสูตรลงไป ได้แก่ แป้ง น้ำตาล น้ำ นมผง ไข่ไก่ ผสมพอเข้ากัน ใส่ไขมันผสมต่อจนก้อนแป้งเนียน นำไปหมักแล้วขึ้นรูป
|
3. การผสมแบบทุ่นเวลา (No Time Dough Method)
ใช้วิธีการผสมเหมือนแบบขั้นตอนเดียว แต่มีการเติมสารเสริมคุณภาพลงในแป้งเพื่อช่วยลดขั้นตอนในการหมักช่วงแรกลง
การหมักโด
เมื่อนวดแป้งขนมปังได้ที่แล้ว ต้องหมักก้อนแป้งไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ห้องที่หมักควรมีอุณหภูมิ 80 องศาฟาเรนไฮต์ และ ความชื้นสัมพัทธ์ 70-78% เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวของแป้งแห้งเกินไป การหมักโดถ้าทำในฤดูหนาวขนมปังจะขึ้นช้า เราอาจจะแก้โดยนำไปตั้งใกล้เตาไฟ (เตาไฟที่จุดแล้ว) หรือนำไปวางไว้ในที่ที่มีแสงแดดส่องถึง ก็จะทำให้ก้อนแป้งขึ้นได้เร็วขึ้น เมื่อหมักก้อนแป้งจนขึ้นแล้วเรามีวิธีการทดสอบโดยการกดลงในแป้งลึก 2-3 นิ้ ซึ่งสังเกตได้จากรอยบุ๋ม
1. ถ้ารอยนิ้วถูกดันขึ้นมาจนมองไม่เห็นรอยที่กดลงไป แสดงว่าก้อนแป้งยังหมักไม่ได้ที่ต้องหมักต่อไปอีก
2. ถ้ารอยนิ้วถูกดันขึ้นมาจนเหลือรอยบุ๋มเล็กน้อย แสดงว่าก้อนแป้งถูกหมักได้ที่แล้ว
3. ถ้ารอยนิ้วบุ๋มอยู่อย่างเดิม แสดงว่าหมักแป้งนานเกินไป